15179 พระพุทธพิมพ์ยืน กรุวัดเชียงงา บ้านหมี่ ลพบุรี เนื้อดิน สภาพหักมุมบน 13

฿250
รายละเอียดสินค้า

ตั้งอยู่เหนือตัวตลาดบ้านหมี่ขึ้นไปเล็กน้อย ในตำบลเชียงงา อำเภอบ้านหมี่ วัดนี้คาดว่าคงจะสร้างขึ้นตั้งแต่ครั้งที่ชาวพวนได้อพยพมาตั้งหลักแหล่งที่ตำบลนี้ สถานที่น่าสนใจของวัดนี้คือเจดีย์เก่าองค์หนึ่ง ซึ่งลักษณะคล้ายกับเจดีย์ทางภาคเหนือของไทย คือ มีฐานย่อมุมซ้อนหลายชั้นองค์ระฆังเล็กสั้นแจ้ มีลวดลายรัดอกรอบองค์ระฆัง ไม่มีบัลลังก์ ปลียอดรูปดอกบัวทรงผอมสูง บนยอดสุดปักฉัตรโลหะปิดทองฉลุลาย เจดีย์ทรงมอญทั่วไป ฐานจะแผ่กว้างทรงแจ้ แต่เจดีย์ที่วัดเชียงงานี้ทรงชะลูดสูง ดูแปลกตา

 

บ้านหมี่เป็นอำเภอที่อยู่ในชนบทมีความสงบร่มเย็นประชาชนส่วนใหญ่เป็นชาวพวน หรือปัจจุบันเรียกว่า ไทยพวน ซึ่งถูกกวาดต้อนอพยพเคลื่อนย้ายมาจากประเทศลาว ตั้งแต่สมัยกรุงธนบุรี เข้ามายังประเทศไทยจำนวนหนึ่งชาวพวนแห่งนี้ประกอบขึ้นด้วยสามอาณาจักรคือ กรุงศรีสัตนาคนหุต (ลานช้างหรือล้านช้าง) มีเมืองหลวงที่เวียงจันทน์ราชอาณาจักรหนึ่ง กรุงศรีสัตนาคนหุต (ลานช้างหรือล้านช้าง) มีเมืองหลวงที่หลวงพระบางอีกราชอาณาจักรหนึ่งและนครจำปาศักดิ์ อีกแห่งหนึ่ง ซึ่งล้วนเป็นประเทศราชขึ้นตรงต่อกรุงธนบุรีด้วยกันทั้งหมดโดยสมเด็จพระเจ้าตากสินโปรดให้สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก(สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช)กับเจ้าพระสุรสีห์ ยกทัพไปตีเวียงจันทน์ ในเดือนอ้าย พ.ศ. 2321 กองทัพธนบุรีได้ล้อมอยู่ 4 เดือน ก็ได้เวียงจันทน์และหัวเมืองต่างๆในแคว้นลาว จนจรดแคล้วนตังเกี๋ย สำหรับกรุงศรีสัตนาคนหุต เวียงจันทน์นั้น มีเจ้าอนุวงศ์เป็นผู้ครองและแสดงตนเป็นผู้ซื่อตรงต่อธนบุรีตลอดมาตั้งแต่รัชกาลที่ 1 ถึงรัชกาลที่2 มาขึ้นกับกรุงเทพฯตั้งแต่นั้นมานี่คือเหตุการณ์ของชาวลาวที่อพยพเคลื่อนย้ายมาสู่แดนดินถิ่นสยาม
ชาวพวน หรือ ไทยพวน ที่อพยพมาจากเชียงขวางในประเทศลาวมาตั้งภูมิลำเนาในท้องที่อำเภอนี้ได้นำเอาชื่อบ้าน คือ 'บ้านหมี่' หรือ 'เซ่า' ติดมาด้วย แล้วนำเอาชื่อบ้านมาตั้งหลักแหล่ง คำว่า เซ่า หรือ เซา เป็นภาษาพวนเดิม หมายถึง หยุดหรือพัก ส่วนคำว่า หมี่ นั้นหมายถึง การมัดเส้นไหมเป็นเปลาะ เพื่อให้มีหลากสีสัน เนื่องจากราษฎรในละแวกนั้นมีความถนัดในการทอผ้าชนิดต่าง ๆ เมื่อมาตั้งหลักแหล่งจึงตั้งชื่อบ้านเป็นเครื่องหมายในการประกอบอาชีพว่า 'บ้านหมี่'
อำเภอบ้านหมี่ตั้งเป็นอำเภอเมื่อปี พ.ศ. 2426 ชื่อเรียกตั้งครั้งแรกว่า อำเภอสนามแจง เนื่องจากตั้งอยู่ที่ริมเขาสนามแจง ต่อมาย้ายไปตั้งอยู่บ้านห้วยแก้ว ตำบลมหาสอน ได้เปลี่ยนชื่อใหม่ตามที่ตั้งว่า อำเภอห้วยแก้ว
พ.ศ. 2441 มีการสร้างทางรถไฟสายเหนือผ่าน ทางราชการจึงย้ายอำเภอมาสร้างใหม่ที่ตำบลบ้านเซ่า (ตำบลบ้านหมี่ในปัจจุบัน) ได้เปลี่ยนชื่อเรียกอำเภอกลับไปเป็นอำเภอสนามแจงอีก
พ.ศ. 2457 เปลี่ยนชื่อเป็น อำเภอบ้านเซ่า ตามตำบลที่ตั้ง
พ.ศ. 2483 มีพระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนชื่ออำเภอจากอำเภอบ้านเซ่าเป็น อำเภอบ้านหมี่ มาจนถึงปัจจุบันนี้

พุทธลักษณะของพระกรุวัดเชียงงานี้มีหลายพิมพ์ทรง ทั้งนั่ง - ยืน มีด้วยกันหลายปาง สำหรับเนื้อพระนั้นมีทั้งเนื้อตะกั่วสนิมแดง และเนื้อดิน ดังในรูปถ่ายที่ท่านเห็นมีขนาดกว้างประมาณ 2 ซม. สูง 4.7 ซม. ด้านหลังโดยมากจะมียันต์กดติดกับเนื้อพระดังในภาพแทบทุกองค์น้อยองค์ที่ไม่มี ส่วนพระเนื้อตะกั่วไม่มียันต์ด้านหลัง พระเนื้อดินจะมีดาบรักราที่มีจุดตกระคล้ายช้างเผือกคราบกรุและนวลดินบ่งบอกว่าระยะเวลาการสร้างที่แน่นอนและใกล้เคียงได้ พระกรุวัดเชียงงามีหลายปางและแต่ละปางชี้ให้เห้นถึงศิลปกรรมอยู่ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น อันเป็นงานศิลปแนวทางหนึ่ง ซึ่งเป็นสื่อที่เหมาะสมที่สุดในการโน้มน้าวจิตใจให้ผู้คนระลึกถึงสิ่งที่ดีงามปรับปรุงจิตใจให้ละเอียดอ่อนเป็นพื้นฐานแห่งการทำความดีความพยายามที่จะขัดเกลาจิตใจความรู้สึกนึกคิดให้สะอาดบริสุทธิ์ เป็นการยกระดับจิตใจคนในสังคมด้วยมาตรฐานทางศีลธรรม งานสร้างสรรค์ทางศิลป์ที่ปรากฏในรูปศิลปกรรมแขนงต่าง ๆ ยังเป็นสิ่งแสดงลักษณะวัฒนธรรมประจำชาติ สร้างสรรค์ทางปัญญา ถ่ายทอดความรู้สึกนึกคิด จินตนาการ จิต วิญญาณ และการสังเกตของศิลปออกสู่สาธารณชน ด้วยฝีมือความชำนาญ บ่งบอกความเป็นตัวของตัวเองอย่างเด่นชัด

พระกรุวัดเชียงงานี้ เป็นพระกรุหนึ่งซึ่งเชื่อกันว่าสร้างเมื่อประมาณต้นรัชกาลที่ 2 ถึงที่ 3 ฝีมือการแกะสลักของศิลปไทยในยุคต้นรัตนโกสินทร์ นับว่าเยี่ยมยอดทีเดียวลวดลายและทรวดทรงต่าง ๆ ขององค์พระและส่วนประกอบขององค์ศิลป อยู่ในขั้นใช้ได้ทีเดียว นี่เป็นความนึกคิดของผมคนเดียว ส่วนคนอื่นจะคิดจะนึกอย่างไรนั้นคงไม่มีปัญหา
ความวิจิตรพิสดารในองค์พระ ถ้าเรามองดูให้ซึ้งก็จะทำให้เราบังเกิดความรู้สึกนึกคิดคล้ายภาพทิพย์ในสรวงสวรรค์ ซึ่งยังเน้นให้เห็นความมีชีวิตจิตใจขององค์ปฏิมาอย่างเด่นชัดยิ่งขึ้นด้วยลายเส้นขนานอันพวยพุ่งอ่อนหวาน อันเป็นรอยริ้วของพระหัตถ์ก็ดี พระโอษฐ์ก็ดี พระนาสิกก็ดี หรือเส้นขอบพระเนตรก็ดี หรือที่ฐานรองรับพระบาทก็ดีนั้น ล้วนมีส่วนสัมพันธ์กันเป็นอย่างดี หรือเรียกว่าเป้นการประยุกต์เข้าด้วยกันด้วยความเหมาะสมด้วยประการทั้งปวง
พระกรุวัดเชียงงา มีมากมายหลายพิมพ์ มีทั้งเนื้อดิน และเนื้อชิน เป็นพระศิลปะสกุลช่าง รัตนโกสินทร์ตอนต้นๆ (ร.3 พ.ศ.2367-2394) เคยพบพระที่วัดประยูรฯ กทม.

พระกรุวัดเชียงงา ส่วนมากเป็นพระเนื้อดินเผา สีพิกุลแห้ง,สีแดง,สีอิฐเผา,สีเขียว,สีดำ,มีหลายสีด้วยกันสำหรับเนื้อนั้นละเอียดมากบางองค์ไม่ได้ใช้เลย แลดูคล้ายของใหม่ แต่บางองค์ใช้แล้ว เนื้อจะเนียนสนิท จะมีความมันจากรอยที่สึกขององค์พระ (เนื้อพระ) ทำให้แลดูละเอียดมากยิ่งขึ้น ความเป็นเงาและความมันจะปรากฎจากองค์พระที่ใช้เสียดสีกับผิวเนื้อของคนเราความเค็มจะทำให้พระเกิดความชุ่ม ทำให้เนื้อดินหนึกและนุ่ม ยากแก่การชี้ชัดว่าเป็นของเก่าหรือของใหม่ เรื่องพระเนื้อดินจึงดูยากกว่าพระเนื้อชินมาก จะอย่างไรก็ตามแต่ ประการสำคัญที่สุดในการดูพระทุกชนิด ต้องดูจากพิมพ์ทรง จุดสังเกตในแม่พิมพ์ ความสำคัญและส่วนต่าง ๆ ขององค์พระที่เราพึงสังเกตได้ง่ายและจำง่าย ๆ อย่าเป็นคนรั้นตำราอย่าตีค่าตัวเองฉันนี้แน่เพียงคนเดียว แล้วท่านจะเป็นผู้หนึ่งที่ดูพระและเล่นพระได้ไว (เป็นไว) เก่งเร็ว และถ้าได้เล่นกับเซียนใหญ่ ๆ ทุกระดับ แล้วจะได้รับความรู้มากยิ่งขึ้น
ได้บอกแล้วว่า พระกรุวัดเชียงงานี้ มีทั้งพระสนิมแดงด้วย แม้แต่พระที่มีลักษณะคล้ายพระยอดธงยังมีเลยสนิมรึครับ แดงที่สุด บางองค์แดงเหมือนสีเทา และบางองค์ก็มีลักษณะคล้ายรูปพระพุทธนั่งมีฐานเป็นผ้าทิพย์เป็นพระตะกั่วสนิมแดงจัดเช่นกัน บางคนก็กล่าวว่าเป็นพระของหลวงปู่เนียมเข้าให้ ความจริงพระที่มีชื่อเสียงมักจะมีคนชอบยัดเยียดให้เป็นนั่นเป็นนี่เสมอ ความจริงแล้วต้องการปล่อยให้ได้ราคามากนั่นเอง (ดังในภาพที่ท่านเห็นนี่แหละ) มีลักษณะเล็กกระทัดรัดน่าใช้มาก
ดังเช่นปัจจุบันนี้ ไม่ได้ไม่ดี ก็หลวงพ่อศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า ,หลวงพ่อเงินวัดบางคลาน,หลวงพ่อเดิม วัดหนองโพ, อะไรทำนองนี้ ความจริงอาจจะไม่ใช่เลยอาจจะเป็นของเลียนแบบก็ได้ จริงไหมครับ คือคนที่ทำหรือคนสร้าง (หมายถึงคนทำปลอม) ก็พยายามทำเลียนแบบให้มีความใกล้เคียง แล้วก็นำไปจำหน่ายให้กับผู้ไม่รู้คนที่อยากได้ก็รับกรรมกันไป นี่เป็นเพียงอุทาหรณ์เพียงเล็กน้อยเท่านั้น ที่ให้ท่านผู้อ่านลองหลับตาเปรียบเทียบดูเอาเองก็แล้วกันนะครับว่า ที่ผมเขียนมานี้นั้นมีความจริงหรือไม่เพียงไร

พระกรุวัดเชียงงา เป็นพระดีไม่มีการทำปลอมราคาก็แสนจะถูก โปรดอย่าได้มองข้ามและเป็นพระมี่มีลักษณะเหมือนกับพระวัดประยูรวงศาราม ด้านฝั่งตรงข้ามกับสะพานพุทธยอดฟ้าอีกด้วยแสดงให้เห็นว่า เจดีย์และการสร้างวัดคงมีระยะเวลาใกล้เคียงกันอีกด้วย ใครจะเชื่อหรือไม่ก็ตามใจ รู้กันอย่างไรก็บอกกันไปอย่างนั้น และบางคนไม่ทราบเสียด้วยซ้ำว่า พระที่อยู่ในรูปนี้ เป็นพระวัดใดกันแน่ ก็ขอกระซิบให้ทราบเสียเลยนะครับว่าเป็นพระกรุวัดเชียงงา ต.เชียงงา อำเภอบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี ครับ

ขอบคุณ จ.ส.ต. อเนก เจกะโพธิ์ สำหรับข้อมูลพระกรุนี้



www.surepra.comชัวร์พระ.คอม
สินค้าแนะนำ
บทความ