Calcium Hypochlorite, CaOCl2, แคลเซียมไฮโปคลอไรท์, ผงปูนคลอรีน, ผงคลอรีน 90%

฿1
ชื่อผู้ประกาศ : Thailandchemicals

เบอร์โทรศัพท์ : 034854888, 034496284

โทรศัพท์มือถือ : 0824504888, 0800160016

ที่อยู่ : 36/5 ม.9 ต.นาดี อ.เมืองสมุทรสาคร

รายละเอียดสินค้า

นำเข้าและจำหน่าย Calcium Hypochlorite, CaOCl2, แคลเซียมไฮโปคลอไรท์, ผงปูนคลอรีน, ผงคลอรีน, ปูนคลอรีน, คลอรีนผง, Chlorine powder, คลอรีนเกล็ด, คลอรีนก้อน, คลอรีนสระว่ายน้ำ, คลอรีนฆ่าเชื้อ, คลอรีนบำบัดน้ำ

Calcium Hypochlorite, CaOCl2, แคลเซียมไฮโปคลอไรท์, ผงปูนคลอรีน, คลอรีนผง, คลอรีนเกล็ด 

คลอรีน (Chlorine) เป็นสารเคมีที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย เนื่องจากคลอรีนสามารถทำลายเชื้อโรคได้มากกว่า 99% รวมทั้ง อี.โคไล (E.coli) และเชื้อไวรัส นอกจากนี้คลอรีนสามารถฆ่าเชื้อโรคในน้ำได้ในชั่วระยะเวลาหนึ่งที่ทำการเติมคลอรีนลงไปแล้ว

ยังให้ผลในระยะยาวอีกด้วย โดยคลอรีนที่เติมลงไปจะละลายน้ำอยู่ในรูปของคลอรีนอิสระ

(Residual Chlorine) ทำหน้าที่ฆ่าเชื้อโรคที่อาจปนเปื้อนมาในภายหลัง

คุณสมบัติของคลอรีน

คลอรีนสามารถดำรงอยู่ในสภาพของเหลวและแก๊ส

โดยทั่วไปจะทำปฏิกิริยาเคมีกับโลหะแทบทุกชนิดเมื่อมีความชื้นอยู่ด้วย

คลอรีนเป็นสารที่ไม่ก่อการระเบิดและติดไฟด้วยตนเอง

คลอรีนที่อุณหภูมิและความดันปกติ

จะมีสภาพเป็นแก๊สสีเขียวตองอ่อน กลิ่นฉุน ถ้าปะปนอยู่ในอากาศจะเป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตทุกชนิด

ก๊าซคลอรีนจะหนักกว่าอากาศ 2.5 เท่า

ฉะนั้นเมื่อเกิดการรั่วคลอรีนจะแผ่คลุมบริเวณพื้นผิวดินหรือบนพื้นน้ำ

และบริเวณที่ต่ำๆ ก๊าซคลอรีนจะละลายน้ำได้เพียงเล็กน้อย

คลอรีนเหลวมีสีอำพัน

หนักกว่าน้ำประมาณ 1.5 เท่า ที่ความดันปกติ จะมีจุดเดือด -34 C เมื่อกลายสภาพเป็นแก๊สจะขยายตัวถึงประมาณ 460 เท่า ดังนั้นถ้าเกิดการรั่วควรแก้ไขไม่ให้เกิดการรั่วในสภาพเป็นของเหลว

คลอรีนเหลวและก๊าซคลอรีนที่แห้งจะไม่กัดกร่อนโลหะธรรมดา

เช่น เหล็ก ทองแดง เหล็กไร้สนิท ตะกั่ว แต่โลหะดังกล่าวจะถูกกัดกร่อนอย่างรุนแรง

ถ้าสัมผัสกับคลอรีนที่มีความชื้น ดังนั้น อุปกรณ์ที่ใช้งานเกี่ยวกับคลอรีนเหลว

ควรปิดให้สนิทเมื่อเลิกใช้งานแล้ว เพื่อป้องกันความชื้นเข้าไปทำให้เกิดอันตรายได้

คลอรีนที่อยู่ในภาชนะบรรจุเป็นคลอรีนแห้ง

(มีความชื้นน้อยกว่า 150 ส่วนในล้านส่วน)

จะมีสภาพเป็นของเหลวอยู่ภายใต้ความดันสูง ความดันนี้เปลี่ยนแปลงตามอุณหภูมิ

โดยความดันจะสูงขึ้นตามอุณหภูมิ

เพราะส่วนที่เป็นของเหลวจะขยายตัวเปลี่ยนสภาพเป็นแก๊ส ดังเช่นที่อุณหภูมิ
35C ความดันของก๊าซคลอรีนในภาชนะเหล็กจะเท่ากับ 10 เท่าของความดันอากาศ ถ้าอุณหภูมิขึ้นถึง 65 C ความดันแก๊สภายในจะเท่ากับ 20

เท่าของความกดดันของอากาศ ซึ่งจะเป็นอันตรายต่อภาชนะบรรจุ ดังนั้น

จึงควรเก็บภาชนะบรรจุคลอรีนในที่ร่ม และมีอากาศถ่ายเทได้สะดวก

ชนิดของคลอรีน

คลอรีน คือ

สารที่นิยมใช้กันมากในการทำลายเชื้อโรคในน้ำ

ซึ่งประสิทธิภาพในการทำลายเชื้อโรคได้สูงและราคาไม่สู้จะแพงนัก สีเป็นสีขาว

ไม่เป็นที่รังเกียจ ยกเว้นแต่จะมีกลิ่นเหม็นเล็กน้อย สารคลอรีนโดยทั่วไปมี 2 ชนิด คือชนิดก๊าซและชนิดผง

1. ชนิดก๊าซคลอรีน มีสีเหลืองแกมเขียว มีความหนาแน่นประมาณ 2.5 เท่าของอากาศ และเมื่อเป็นของเหลว (คลอรีนเหลว 99%) จะมีสีเหลืองอำพัน มีความหนาแน่นเป็น 1.44

เท่าของน้ำซึ่งเป็นอันตรายต่อปอดและเนื้อเยื่อต่างๆ

โดยจะทำให้เกิดการระคายเคืองต่อระบบหายใจ เยื่อบุจมูก และผิวหนัง

ซึ่งผลกระทบที่เป็นอันตรายจากการสัมผัสกับก๊าซคลอรีนที่จะเริ่มเห็นได้ชัดเจน

คือที่ความเข้มข้นประมาณ 5 ppm. ขึ้นไป และที่ความเข้มข้น 5-10 ppm. จะทำให้การหายใจติดขัด น้ำตาไหล ระคายเคืองผิวหนัง ระคายเคืองปอด และเมื่อความเข้มข้นสูงขึ้น เช่น หากได้รับก๊าซคลอรีนในปริมาณ 1,000 ppm. จะทำให้เสียชีวิตได้ ดังนั้นจึงต้องใช้ความระมัดระวัง

และต้องมีผู้เชี่ยวชาญในการติดตั้งและควบคุมการทำงาน

คลอรีนไม่ไหม้ไฟแต่ช่วยในการสันดาปเหมือนออกซิเจน

และพบว่าก๊าซคลอรีนทำปฏิกิริยารุนแรงกับไขมัน แอมโมเนีย เทอร์เพนไทน์

และไฮโดรคาร์บอน ไม่เป็นตัวนำไฟฟ้า ไม่กัดกร่อน(
Corrosive) เมื่อแห้ง

2. ชนิดคลอรีนผง หรือที่รู้จักกันในนามของ ?ผงปูนคลอรีน? มีอยู่ด้วยกันหลายชนิด คือ

2.1 แคลเซียมไฮโปรคลอไรต์ (Calcium hypochlorite) เป็นผงสีขาว ละลายน้ำได้ดีมีสูตรทางเคมี คือ Ca(OCl)2 มักจะผลิตให้มีความเข้มข้นระหว่าง 60-70% โดยน้ำหนัก

คลอรีนผงชนิดนี้หาได้ง่าย ราคาไม่แพง

ไม่เป็นอันตรายต่อคนและสัตว์เลี้ยงอย่างรุนแรง ไม่ทำให้เสียรสชาติ

ฆ่าเชื้อโรคในเวลาไม่นานเกินไป และยังคงมีฤทธิ์ฆ่าเชื้อโรคต่อไปได้อีก

สะดวกต่อการใช้งาน และสามารถตรวจสอบประสิทธิภาพได้ง่าย ดังนั้น

จึงเป็นที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายที่สุด

2.2 โซเดียมไฮโปรคลอไรต์ (Sodium hypochlorite) เป็นสารละลายใส สีเหลืองอมเขียวมีสูตรทางเคมี คือ NaOCl ความเข้มข้นประมาณ 16% โดยน้ำหนัก มีความเสถียรน้อยกว่าแคลเซียมไฮโปรคลอไรต์ ทำให้เสื่อมสภาพได้อย่างรวดเร็ว จึงควรเก็บไว้ในที่มืดและอุณหภูมิไม่สูงกว่า 30 C เพื่อชะลออัตราการเสื่อมคุณภาพและอายุในการเก็บไม่ควรเกิน 60-90 วัน สำหรับสารละลายโซเดียมไฮโปรคลอไรต์ เมื่ออยู่ในสภาวะ pH ต่ำ จะระเหยเป็นหมอกคลอรีนสามารถระเบิดได้

2.3 ปูนคลอไรด์ (Chlorinated Lime or Chloride of Lime or Bleaching Powder) หรือบางทีเรียกว่า ?ผงฟอกสี? มีสูตรทางเคมี คือ CaOCl2 ผลิตได้จากปฏิกิริยาเคมีระหว่างคลอรีนและปูนขาว มีความเข้มข้นประมาณ 35% โดยน้ำหนัก

ประสิทธิภาพในการฆ่าเชื้อโรคของผงปูนคลอรีน

การใช้คลอรีนฆ่าเชื้อโรคอย่างมีประสิทธิภาพขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการดังนี้

1. ความเข้มข้นของคลอรีนอิสระ (Free chlorine residual) ความเข้มข้นและปริมาณของคลอรีนที่เติมลงในน้ำไม่ใช่สิ่งที่สำคัญที่สุดในการฆ่าเชื้อโรค

หากแต่เป็นปริมาณคลอรีนอิสระที่เหลืออยู่ในน้ำ

ซึ่งวัดได้หลังจากช่วงระยะเวลาสัมผัสอันหนึ่งแต่การเติมคลอรีนน้อยเกินไป

จะไม่ทำให้เกิดคลอรีนอิสระขึ้นและอาจจะทำลายเชื้อโรคในน้ำได้ไม่ทั้งหมด แต่การเติมคลอรีนในปริมาณที่มากเกินไป

จะทำให้น้ำมีกลิ่นฉุนของคลอรีนและทำให้รสชาติของน้ำเสียไปด้วย

ทั้งยังเป็นการสิ้นเปลืองคลอรีนโดยใช่เหตุ นอกจากนี้ คลอรีนยังมีฤทธิ์กัดกร่อน

อาจทำให้เครื่องมือและอุปกรณ์ต่างๆ เสียหายได้ ดังนั้น

ในการเติมคลอรีนจึงต้องเติมในปริมาณที่พอเหมาะ คือ สามารถฆ่าเชื้อโรคได้หมด

รวมทั้งก่อให้เกิดคลอรีนอิสระที่แนะนำ คือระหว่าง 0.2-0.5 มิลลิกรัมต่อลิตร (0.2-0.5 ppm.) ณ เวลาสัมผัส 30 นาที กล่าวคือภายหลังจากที่ทำการเติมสารละลายคลอรีนไปแล้ว 30 นาที ต้องสามารถวัดปริมาณคลอรีนอิสระได้ระหว่าง 0.2-0.5 มิลลิกรัมต่อลิตร

2. ระยะเวลาในการฆ่าเชื้อโรค ( Duration of contact)ทั้งนี้โดยเริ่มตั้งแต่เวลาที่เติมสารละลายผงปูนคลอรีนลงไปในน้ำจนถึงเวลาที่ผู้ใช้เริ่มใช้น้ำเป็นรายแรกไม่ควรน้อยกว่า 30 นาที

หรือถ้านานกว่านั้นการฆ่าเชื้อโรคของสารละลายผงปูนคลอรีนก็จะมีมากขึ้นด้วย

และทำให้กลิ่นลดลง

3. อุณหภูมิ (Temperature) ถ้าอุณหภูมิสูงประสิทธิภาพในการฆ่าเชื้อโรคของผงคลอรีนจะลดลง แต่ในทางตรงข้ามถ้าอุณหภูมิต่ำ ประสิทธิภาพในการฆ่าเชื้อโรคของผงปูนคลอรีนจะดีขึ้น

4. ความขุ่นของน้ำ (Turbidity) อนุภาคความขุ่นในน้ำอาจเป็นเกราะกำบังให้เชื้อโรค

ทำให้คลอรีนไม่สามารถเข้าไปสัมผัสและฆ่าเชื้อโรคได้ ดังนั้น

ถ้าต้องการให้คลอรีนมีประสิทธิภาพในการฆ่าเชื้อโรคได้ดีจึงต้องทำให้น้ำมีความใสสูง

คือ ต้องมีความขุ่นน้อยกว่า 10 NTU (Nephelometric Turbidity Units) โดยการเติมสารส้ม เพื่อให้อนุภาคของความขุ่นจับตัวรวมกันตกตะกอน และผ่านถังกรอง

5. สภาพความเป็นกรด-ด่างของน้ำ (pH) มีผลต่อการฆ่าเชื้อโรคของคลอรีน เนื่องจากคลอรีนจะแตกตัวเป็นไฮโปรคลอรัส (Hypochlorus : HOCl ) ซึ่งมีอำนาจในการฆ่าเชื้อโรคได้ดีเมื่อน้ำมีสภาพเป็นกรดเล็กน้อย หาก pH สูงกว่า 7.5 จะทำให้เกิด OCl- มากขึ้น ซึ่ง OCl- นี้มีประสิทธิภาพในการฆ่าเชื้อโรคด้อยกว่า HOCl จะทำให้ต้องสิ้นเปลืองคลอรีนมากขึ้น และหากค่า pH สูงถึง 9.5 จะเกิด OCl- ถึง 100%

ข้อดี-ข้อด้อยของการใช้คลอรีนในการฆ่าเชื้อโรค

1. ข้อดีของการใช้คลอรีน

- เป็นสารเคมีที่หาได้ง่าย

- ราคาไม่แพง

- ละลายน้ำได้ดีที่อุณหภูมิปกติ

- ไม่ทำให้น้ำเสียรสชาติ

- ไม่เป็นอันตรายต่อคนและสัตว์เลี้ยงอย่างรุนแรง

- ฆ่าเชื้อโรคในเวลาไม่นานเกินไปและมีฤทธิ์ฆ่าเชื้อโรคในน้ำต่อไปได้อีก

- สามารถตรวจสอบประสิทธิภาพได้

2. ข้อด้อยของการใช้คลอรีน

ทำปฏิกริยากับกลุ่มของกรดอินทรีย์ (Organic acid) คือ กรดฮิวมิค (Humic acid) เกิดไตรฮาโลมีเทน (Trihalomethanes : THMs) ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็ง ดังนั้นในแง่ของผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ

สำนักงานพิทักษ์สิ่งแวดล้อม สหรัฐอเมริกา จึงกำหนดความเข้มข้นสูงสุดของไตรฮาโลมีเทน

(THMs) ไว้ที่ 0.08 มิลลิกรัมต่อลิตร (ppm.) ในน้ำดื่ม ขณะที่องค์การอนามัยโลก (World Health Organizasion : WHO) กำหนดความเข้มข้นของไตรฮาโลมีเทน (THMs) ที่ไม่เกิน 0.1 มิลลิกรัมต่อลิตร (ppm.)

แต่จากการศึกษาเปรียบเทียบขององค์การอนามัยโลก

(WHO) เกี่ยวกับความเสี่ยงจากอันตรายของการใช้คลอรีนในการฆ่าเชื้อโรคในน้ำ การก่อให้เกิดสารไตรฮาโลมีเทน (THMs) และอันตรายที่เกิดจากโรคระบบทางเดินอาหารที่มีน้ำเป็นสื่อที่มีผลต่อสุขภาพ

พบว่า

อันตรายจากการใช้คลอรีนฆ่าเชื้อโรคในน้ำและการเกิดสารไตรฮาโลมีเทนเป็นส่วนเล็กน้อย

เมื่อเทียบกับการเกิดโรคของระบบทางเดินอาหารที่มีน้ำเป็นสื่อ

การเตรียมสารละลายคลอรีนในการฆ่าเชื้อโรค

การเติมคลอรีนเพื่อฆ่าเชื้อโรคในน้ำนั้น

จะต้องระลึกเสมอว่า เมื่อเติมสารละลายคลอรีนไปแล้ว

คลอรีนจะต้องสามารถฆ่าเชื้อโรคในน้ำได้หมดขณะเดียวกันต้องมีคลอรีนอิสระอยู่ในน้ำด้วยซึ่งปริมาณของคลอรีนอิสระ

จะต้องมีอยู่ระหว่าง 0.2-0.5

มิลลิกรัมต่อลิตร แต่ในกรณีที่มีการระบาดของโรคระบบทางเดินอาหารที่มีน้ำเป็นสื่อ

เช่นโรคอุจจาระร่วงอย่างรุนแรง โรคบิด ฯลฯ ต้องเพิ่มปริมาณคลอรีนอิสระเป็นประมาณ
1.0 มิลลิกรัมต่อลิตร เพื่อป้องกันการปนเปื้อนที่อาจจะเกิดขึ้นได้ในภายหลัง

ดังนั้น

ในการเติมคลอรีนเพื่อการฆ่าเชื้อโรคในน้ำต้องเติมสารละลายคลอรีนให้มีปริมาณคลอรีนสูงกว่าจำนวนที่จะให้เกิดเป็นคลอรีนอิสระเสมอ

สำหรับการเตรียมสารละลายคลอรีนเพื่อฆ่าเชื้อโรคในครัวเรือนมักใช้คลอรีนผง

ความเข้มข้น 60%การใช้งานต้องนำมาละลายน้ำ

แล้วนำส่วนที่เป็นน้ำใสผสมน้ำตามอัตราส่วนและวัตถุประสงค์ในการใช้ เช่น

ใช้ฆ่าเชื้อโรคในน้ำดื่ม-น้ำใช้ ใช้ล้างผักสด ผลไม้ อาหารทะเล ภาชนะอุปกรณ์

และอาคารสถานที่ต่างๆ
 

วิธีการเตรียมคลอรีน

1.         เตรียมน้ำใส่ภาชนะตามขนาดที่ต้องการใช้ประโยชน์

2.         ตักน้ำใส่แก้วมา 1 แก้ว

3.         นำผงปูนคลอรีนชนิดความเข้มข้น 60 เปอร์เซ็นต์ ผสมลงไปตามสัดส่วน แล้วคนให้เข้ากัน

4.         ตั้งทิ้งไว้ให้ผงปูนตกตะกอน

5.         นำน้ำคลอรีนส่วนที่เป็นน้ำใส ผสมน้ำในภาชนะที่เตรียมน้ำไว้ตามอัตราส่วน กวนให้เข้ากันด้วยภาชนะที่สะอาด ทิ้งไว้ 30 นาที ก่อนที่จะใช้ประโยชน์ตามต้องการ รายละเอียดดังตาราง

การใช้น้ำปูนคลอรีนฆ่าเชื้อโรค

การใช้คลอรีนสำหรับฆ่าเชื้อโรคในน้ำเพื่อวัตถุประสงค์ต่างๆ

จะมีประสิทธิภาพเมื่อใช้ตามอัตราส่วนที่ถูกต้อง และระยะเวลาเหมาะสมดังนี้

1.         น้ำดื่ม น้ำใช้ ใช้น้ำปูนคลอรีนส่วนที่เป็นน้ำใสใส่ในน้ำสะอาด ที่ต้องการปรับปรุงคุณภาพทิ้งไว้ 30 นาที เพื่อฆ่าเชื้อโรค

หลังจากนั้นจะยังคงมีคลอรีนอิสระคงเหลือเพื่อฆ่าเชื้อโรคในน้ำต่อไป

น้ำที่ต้องการปรับปรุงคุณภาพแล้วควรมีคลอรีนอิสระคงเหลืออยู่ระหว่าง 0.2-0.5 Mg/l (ppm) ปิดฝาภาชนะให้มิดชิด เพื่อไม่ให้คลอรีนระเหยเร็วเกินไป และป้องกันการปนเปื้อนจากภายนอก

2.         ผักสด ผลไม้ ล้างด้วยน้ำสะอาด

โดยเฉพาะผักผลไม้ที่รับประทานสดควรขัดผิวของผัก และผลไม้จนกว่าจะสะอาด

และฆ่าเชื้อโรค โดยแช่น้ำที่ผสมน้ำปูนคลอรีน นาน 30 นาที

3.         ปลา ล้างด้วยน้ำสะอาด และฆ่าเชื้อโรคโดยแช่น้ำที่ผสมน้ำปูนคลอรีนนาน 30 นาที

4.         เขียงที่ใช้กับอาหารประเภทต่างๆ ต้องล้างด้วยน้ำสะอาด และฆ่าเชื้อโรคโดยแช่ในน้ำที่ผสมน้ำปูนคลอรีน นาน 30 นาที

5.         อาคารสถานที่ ราดน้ำที่ผสมปูนคลอรีนลงบนพื้นที่ต้องการฆ่าเชื้อโรค ทิ้งไว้ประมาณ 5-10 นาที จึงล้างออก ส่วนโต๊ะ ชั้นวางของ

ทำความสะอาดด้วยน้ำสะอาด แล้วใช้ผ้าชุบน้ำที่ผสมน้ำปูนคลอรีนพอหมาดๆ

เช็ดให้ทั่วอีกครั้ง

การใช้คลอรีนฆ่าเชื้อโรคในถังเก็บน้ำแบบ

ฝ.99

อุปกรณ์

1.         ผงปูนคลอรีนขนาดความเข้มข้น 60% ประมาณ 1 กระป๋องนม

2.         ทรายหยาบประมาณ 5 กระป๋องนม

3.         ขวดพลาสติกทรงสูง ขนาดความจุประมาณ 1 ลิตร (อาจใช้ขวดน้ำพลาสติกสีขาวขุ่นก็ได้)

4.         กระป๋องนมข้นหวาน 1 ใบ

5.         เชือกยาวประมาณ 4 เมตร

วิธีทำ

1.         ตวงผงปูนคลอรีนขนาดความเข้มข้น 60% จำนวน 1 กระป๋องนม และทรายหยาบที่ล้างสะอาดแล้ว 5 กระป๋อง ผสมคลุกเคล้าให้เข้ากันดี

2.         นำส่วนผสมที่คลุกเคล้ากันดีแล้ว ไปบรรจุใส่ขวดพลาสติกทรงสูงขนาดประมาณ 1 ลิตร ปิดฝาให้สนิท

3.         ใช้เชือกผูกปากขวด ทำเป็นหูหิ้ว พร้อมทั้งเจาะรูเล็กๆ ที่ข้างขวด 10-20 รู เพื่อให้คลอรีนสามารถซึมออกมาได้

4.         นำขวดทรายผสมคลอรีนไปแช่ในถังน้ำ โดยหย่อนขวดลงทางช่องคนลง และผูกปลายเชือกอีกด้านหนึ่งเข้ากับเหล็กยึดจับฝาปิด โดยให้ใส่ขวดทรายผสมคลอรีน 1 ขวดต่อถังเก็บน้ำ 1 ถัง

วิธีการล้างบ่อน้ำตื้น

1.         เก็บเศษใบไม้ และเศษวัสดุต่างๆ ในบ่อออกให้หมด

2.         ถ้าน้ำในบ่อขุ่นมาก ให้ใส่สารส้มเพื่อให้ตกตะกอน

3.         สูบน้ำในบ่อออก เพื่อให้น้ำใสเข้ามาแทนที่ และเพื่อประสิทธิภาพการฆ่าเชื้อโรคของคลอรีน

4.         เตรียมน้ำปูนคลอรีน ความเข้มข้น 50 มิลลิกรัมต่อลิตร (รายละเอียดดังตางรางข้างบน)

5.         นำน้ำปูนคลอรีนส่วนที่เป็นน้ำใสเทลงบ่อ ราดและกวนให้ทั่วบ่อ ทิ้งไว้ 30 นาที

6.         สูบน้ำจากบ่อ ฉีดล้างคราบตะไคร่น้ำ และคราบสกปรกทั้งภายใน และภายนอกวงขอบบ่อ (ใช้แปรงขัดให้สะอาด)

7.         สูบน้ำออกจากบ่อให้หมด หรือให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้

8.         ปล่อยทิ้งไว้ให้ซึมออกมาใหม่ ตรวจหาคลอรีนอิสระคงเหลือให้อยู่ ระหว่าง 0.5-1 พีพีเอ็ม ในกรณีที่น้ำซึมออกมามีความขุ่นให้เติมสารส้มละลายน้ำจนอิ่มตัว แล้วปล่อยทิ้งไว้ให้นอนก้น (ค่าปกติของการใช้สารส้มในการตกตะกอน ประมาณ 5.1 มิลลิกรัมต่อน้ำ 1 ลิตร) เมื่อน้ำตกตะกอนดีแล้วนำส่วนที่ใสมาตรวจหาสารคลอรีนอิสระคงเหลือในน้ำ

9.         แนะนำเจ้าของบ่อให้ปรับปรุงซ่อมแซมส่วนต่างๆ ของบ่อที่ชำรุด เช่น ชานบ่อ วงขอบบ่อ และยารอยต่อต่างๆ

10.       กรณีบ่อไม่มีวงขอบต้องระมัดระวังการทรุดตัวของบ่อ และการร่วงหล่นของอุปกรณ์ต่าง ๆ

ข้อควรระวัง และแก้ไขเบื้องต้น

คลอรีนทำให้เกิดการระคายเคือง

ระบบหายใจ ทำให้แสบจมูก ระคายเคืองตา แสบตา ผิวหนังเป็นผื่นแดงอักเสบ

ดังนั้นในการเตรียมคลอรีน จึงควรป้องกันตัวเองโดย

1.         สวมถุงมือยางขณะเตรียมสารละลายคลอรีน และในระหว่างการผสมคลอรีน

ควรมีผ้าปิดปาก จมูก

และควรแต่งกายปกปิดร่างกายให้มิดชิด

1.         อย่าให้ถูกผิวหนัง และเข้าตา เมื่อถูกผิวหนังให้ล้างออกด้วยน้ำสะอาดทันที

ถอดเสื้อผ้าที่ถูกคลอรีนออก และอาบน้ำชะล้างคลอรีนให้หมด

เมื่อเข้าตาให้ล้างด้วยน้ำสะอาดอย่างน้อย 15 นาที และรีบไปพบแพทย์เพื่อรักษาต่อไป

2.         ส่วนการเก็บผงปูนคลอรีน จะต้องมีการเก็บรักษาที่ดี

เพื่อคงคุณภาพของผงปูนคลอรีนไว้เนื่องจากคลอรีนในผงปูน

คลอรีนสามารถระเหยออกสู่บรรยากาศภายนอกได้เรื่อยๆ ดังนั้น

การเก็บผงปูนคลอรีนจึงควรต้องเก็บในภาชนะที่มีฝาปิดมิดชิด

และเก็บไว้ในที่แห้งและเย็น

การใช้ผงคลอรีน 2

การใช้ผงคลอรีนเพื่อฆ่าเชื้อโรคในน้ำประปา

หลังจากผ่านการกรองน้ำจากถังกรองแล้ว

น้ำประปาจำเป็นจะต้องมีปริมาณคลอรีนหลงเหลือในถังน้ำใสก่อนสูบจ่ายให้กับผู้ใช้น้ำในปริมาณ

1 PPM (1 ส่วนใน 1,000,000 ส่วน) หรือ 1 กรัมในน้ำ 1 ลูกบาศก์เมตร ปลายท่อจ่ายน้ำมีคลอรีนเหลือ 0.3 PPM เพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภค

ดังนั้น การผลิตน้ำประปาต้องระมัดระวังการใช้คลอรีนและควบคุมให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม

คลอรีนใช้ง่ายและสะดวกแต่จะมีกากปูนขาวตกค้าง และต้องระบายทิ้งหรือตักออก

จะใช้เฉพาะสารละลายที่เป็นน้ำในถังเท่านั้น

ตรวจสอบข้อมูลก่อนการใช้ผงปูนคลอรีน

ดังนี้

ก.

ต้องรู้เครื่องสูบน้ำดิบจากแหล่งน้ำสูบได้ในอัตรากี่ลูกบาศก์เมตรต่อชั่วโมง

ข.

ต้องรู้เครื่องจ่ายสารคลอรีนสามารถจ่ายได้ในอัตราชั่วโมงละกี่ลิตร

ค.

ต้องรู้ความจุของถังจ่ายคลอรีนมีความจุเท่าไร

การผสมผงปูนคลอรีนและใช้เครื่องจ่ายคลอรีน

การผสมคลอรีนต้องกำหนดการทำงานของการผลิตน้ำเสียก่อนว่า

ในหนึ่งวันจะผลิตน้ำกี่ชั่วโมง

โดยให้พิจารณาชั่วโมงการใช้งานของเครื่องสูบน้ำดิบเป็นหลักสำคัญ

ในกรณีนี้จะกำหนดเวลาทำงานของเครื่องสูบน้ำดิบในหนึ่งวันใช้เวลา 20 ชั่วโมงเท่านั้น (อาจกำหนดเครื่องน้ำดิบวันละ 10 ชั่วโมง ก็ได้แต่จะผสมคลอรีนหลายครั้งในหนึ่งวัน) การผสมผงปูนคลอรีนชนิด 60% ใช้สูตรน้ำ 1 ลูกบาศก์เมตร ใช้ผงปูนคลอรีน 2 กรัม ห้ามเพิ่มอัตราส่วนผสมดังกล่าว เพราะจะทำให้น้ำมีกลิ่นคลอรีนมากเกินไป

วิธีการผสมคลอรีน

สมมุติว่าใช้เครื่องสูบน้ำดิบขนาดสูบได้ 10 ลูกบาศก์เมตรต่อชั่วโมง ใช้เวลาสูบน้ำ 20 ชั่วโมง เครื่องจ่ายคลอรีนสามารถจ่ายได้ 10 ลิตรต่อชั่วโมง ถังผสมคลอรีนจุ 200 ลิตร (สูตรน้ำ 1 ลูกบาศก์เมตรใช้คลอรีนผง 2 กรัม) ในวันหนึ่งจะผลิตน้ำได้ 10x20 เท่ากับ 200 ลูกบาศก์เมตร ใช้คลอรีน 200x2 เท่ากับ 400 กรัม มีวิธีการผสมคลอรีนดังนี้

1. ชั่งคลอรีนน้ำหนัก 400 กรัม หรือ 4 ขีด เทลงถังผสมขนาดจุ 200 ลิตร

2. เติมน้ำผสมคลอรีนที่เทลงไปในถังให้ถึงขีดความจุข้างถังที่ระดับ 200 ลิตร

3. ตั้งเครื่องจ่ายคลอรีนไปที่ 10 ลิตรต่อชั่วโมง จะจ่ายหมดภายใน 20 ชั่วโมง เท่ากับการสูบน้ำดิบ

4. เดินเครื่องสูบน้ำดิบให้น้ำผ่านถังตกตะกอนเข้าถังกรอง เริ่มไหลลงถังน้ำใส

5. เดินเครื่องจ่ายคลอรีนผสมน้ำในถังน้ำใสได้ทันที

6. อย่าลืมต้องให้คลอรีนผสมน้ำในถังน้ำใสประมาณ 30 นาที ก่อนใช้เครื่องสูบน้ำจ่ายน้ำขึ้นหอถังสูง

การผสมผงปูนคลอรีน (Calcium Hypochlorite) ชนิด 60% เมื่อกวนผงปูนคลอรีนกับน้ำให้ละลายเข้ากัน

จากนั้นปล่อยทิ้งไว้ให้ตกตะกอนเสียก่อน จึงเริ่มจ่ายส่วนผสมคลอรีน

ส่วนผงปูนคลอรีนที่นอนก้นต้องระบายทิ้งไป

เมื่อจ่ายคลอรีนเฉพาะน้ำใสด้านบนใกล้ถึงผงปูนที่นอนก้นอยู่ด้านล่างต้องระบายทิ้ง

ให้เริ่มผสมผงปูนคลอรีนใหม่ ต้องใช้จ่ายคลอรีนที่ผสมแล้วให้หมดภายในหนึ่งวัน

ห้ามผสมเกินกว่าหนึ่งวันเพราะคลอรีนจะระเหยไปหมดทำให้ส่วนผสมเจือจางทำให้ประสิทธิภาพการฆ่าเชื้อโรคน้อยลง

ในกรณีไม่มีเครื่องจ่ายคลอรีน

ให้ดูความจุของถังน้ำใส เช่น ถังน้ำใสจุ 100 ลูกบาศก์เมตร จะใช้ผงปูนคลอรีน 100x2 เท่า 200 กรัม ชั่งผงปูนคลอรีนเทใส่กระป๋องพลาสติก เติมน้ำกวนคลอรีนให้ละลายนำไปเทให้รอบถังน้ำใส ทิ้งไว้ 30 นาที เดินเครื่องสูบน้ำแรงสูงจ่ายน้ำได้ทันที

ในกรณีใช้ถังคอนกรีตเป็นถังจ่ายคลอรีน

ต้องรู้ความจุของถังคอนกรีต โดยคำนวณหาปริมาตรของถังคอนกรีต วัดความกว้าง ความยาว

ความสูง (หน่วยเป็นเมตร) คูณกันจะเป็นปริมาตรความจุของถังคอนกรีต

(หน่วยเป็นลูกบาศก์เมตร)แล้วคูณ 1000

(หน่วยออกมาเป็นลิตร) เช่น ถังคอนกรีตมีกว้าง 0.50 เมตร ยาว 0.80 เมตร สูง 0.50 เมตร ความจุของถังคอนกรีต 0.50x0.80x0.50 เท่ากับ 0.2 ลูกบาศก์เมตร คูณด้วย 1000 เท่า 200 ลิตร

เมื่อรู้ความจุของถังคอนกรีตให้ใช้ภาชนะตวงที่ก๊อกจ่ายคลอรีนข้างถังคอนกรีต

เปิดก๊อกให้จ่ายคลอรีนได้
10 ลิตรต่อชั่วโมง คลอรีนจะจ่ายหมดภายใน 20 ชั่วโมง ชั่งคลอรีนผงที่จะใช้ภายใน 20 ชั่วโมง ละลายในถังคลอรีนปล่อยให้ส่วนผสมตกตะกอน เปิดก๊อกน้ำปล่อยคลอรีนลงถังน้ำใส พร้อมกับการกรองน้ำจะจ่ายคลอรีนเหมือนกับการใช้เครื่องจ่ายเช่นกัน
 

Calcium hypochlorite is a chemical

compound with formula Ca(ClO)2. It is widely used for water treatment and as a

bleaching agent. This chemical is considered to be relatively stable and has

greater available chlorine than sodium hypochlorite (liquid bleach).

It is manufactured by the calcium

process:

 2 Cl

 2 + 2 Ca(OH)

 2 ? Ca(OCl)

 2 + CaCl

 2 + 2 H

 2O

"Bleaching powder" is a

mixture of calcium hypochlorite (Ca(OCl)2) and the basic chloride CaCl2, H2O

with some slaked lime, Ca(OH)2. 

Properties 

Calcium hypochlorite is a yellow

white solid which has a strong smell of chlorine. It is not highly soluble in

water and is more preferably used in soft to medium-hard water. It has two

forms: dry and hydrated. The hydrated form is safer to handle. 

Calcium hypochlorite reacts with

carbon dioxide to form calcium carbonate and release dichlorine monoxide:

 Ca(ClO)

 2 + CO


ผงปูนคลอรีน90%แคลเซียมไฮโปคลอไรท์ChlorineปูนคลอรีนคลอรีนผงpowderCalciumhypochloriteคลอรีนเกล็ด65%

สินค้าแนะนำ